Translate this page:


ท่านสามารถเลือกแปลภาษา
ส่งข้อความแบบหลายภาษา:
พิมพ์-แปล-ส่ง

image





Translate this page:


ท่านสามารถเลือกแปลภาษา
ส่งข้อความแบบหลายภาษา:
พิมพ์-แปล-ส่ง

ปัญหาการแสวงหาผู้มุ่งหวัง

ความสำคัญของผู้มุ่งหวัง

นักขายทุกคนจำเป็นต้องแสวงหาผู้มุ่งหวังเสมอเพื่อการเพิ่มรายได้และยอดขายรวมทั้งเพื่อทดแทนการสูญเสียลูกค้าปัจจุบัน ดังนั้น
ถ้าปราศจากการแสวงหาผู้มุ่งหวังมาทดแทนลูกค้าปัจจุบันที่อาจสูญเสียไปแล้วจะทำให้นักขายต้องเผชิญกับปัญหาของรายได้และการจ้างงานได้
ขั้นตอนในการแสวงหาผู้มุ่งหวัง
ในการแสวงหาผู้มุ่งหวังเพื่อทำการเสนอขายสินค้าหรือบริการ สามารถทำได้ 4 ขั้นตอน คือ
1. การกำหนดคุณสมบัติของผู้มุ่งหวัง
2. แหล่งของผู้มุ่งหวัง
3. การวิเคราะห์สินค้าหรือบริการ
4. การวิเคราะห์ผู้มุ่งหวัง
เส้นทางสู้ผู้มุ่งหวัง
กลุ่มเป้าหมายที่จะกลายมาเป็นผู้มุ่งหวัง ได้แก่
1. ตลาดธรรมชาติ คำว่า ตลาดธรรมชาติหมายถึง ผู้มุ่งหวังกลุ่มญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก นับตั้งแต่เกิดมามีใครรู้จักหรือรู้จักใคร นั่นก็ถือว่าเป็นตลาดชาติทั้งหมด
2. ศูนย์อิทธิผล คือ กลุ่มผู้มุ่งหวังที่มาโดยอาศัยผู้นำชุมชนหรือท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าผู้บ้าน เป็นต้น
3. ตลาดที่สร้างขึ้นมา คือ กลุ่มผู้มุ่งหวังที่นักขายแสวงหาเอง อาจอยู่ตามบ้าน ร้านค้า ชุมชน ในสังคม บนรถ บนเรือ ฯลฯ ระบบการแสวงหาผู้มุ่งหวัง
1. ระบบโซ่ไม่มีปลาย (Endless Chain) เป็นวิธีการได้ผู้มุ่งหวังรายใหม่จากลูกค้าปัจจุบันที่ได้แนะนำให้กับนักการขาย และเมื่อนักขายไปพบเพื่อเสนอขายสินค้าและบริการกับลูกค้ารายนั้นแล้ว
2. ระบบใช้ศูนย์อิทธิพล (Center of influence) เป็นวิธีการหารายชื่อผู้มุ่งหวังโดยผู้นำทางความคิด ซึ่งจะเป็นผู้กระตุ้นให้ข้อมูลข่าวสารและชักจูงให้มีการซื้อได้หรือเป็นกลุ่มบุคคลที่คนในท้องถิ่น
3. ระบบใช้วิธีสังเกตส่วนตัว (Personal obser-vation) อาจเรียกว่า ระบบ หยั่งรู้ หรือ หูไวตาไว การเป็นนักขายต้องเป็นคนที่ช่างสังเกต เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ผ่านไปมาละสังเกตเอง
4. ระบบใช้นักขายผู้เยาว์ (Junior Salesman) ซึ่งถือว่าเป็นนักขายหน้าใหม่หรือนักขายเข้าใหม่ยังไม่มีประสบการณ์
5. ระบบสุ่มตระเวนหาลูกค้าในอนาคต (Cold Canvassing) เป็นวิธีที่นักขายไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้มุ่งหวังเลยหรือเพียงแต่รู้จักชื่อเท่านั้น โดยนักขายอาจไปหาผู้มุ่งหวังที่บ้านหรือที่ทำงาน
6. ระบบใช้จดหมายหรือโทรศัพท์ติดต่อโดยตรง (Direct Mail and Telephone) เป็นวิธีช่วยประหยัดเวลานักขาย วิธีนี้บริษัทจะส่งจดหมายหรือโทรศัพท์ไปล่วงหน้าก่อน
7. ระบบ ฟาร์ม (The farm system) คือ เขตหรือบริเวณแคบ ๆ เหมาะสำหรับการให้นักขายเพียงคนเดียวปฏิบัติในพื้นที่นั้น ๆ โดยนักขายจะเข้าถึงบ้านลูกค้าแต่ละคน
8. ระบบอื่น ๆ (The other) เป็นการเตรียมรายชื่อลูกค้าในอนาคต โดยอาจจะหาได้จากการเก็บรวบรวมในคอมพิวเตอร์หรืออาจใช้วิธีการแบบแผนติดต่อ

(Direct Sales VS Marketing) การขายโดยใช้หุ่นยนต์กระบวนการขายทุกขั้นตอนจนจบและทำงานเหมือนคนจริง

Avatar

การเรียนรู้ได้เองของเครื่องจักรกล หรือ AI (artificial intelligence)
ผสมผสานกันสร้างขึ้นมาเป็นมนุษย์เสมือนจริงในรูปแบบหน้าตาต่างๆ
รูปแบบมนุษย์เสมือนจริง 2.5D คือการจำลองมนุษย์เสมือนจริง โดยใช้เทคโนโลยี AI ทั้งหมด
โดยผู้เขียนโปรแกรมจะทำการป้อนข้อมูล ในการสร้างรูปร่างของ AI ที่คล้ายกับคนจริง เมื่อเทียบกับมนุษย์ดิจิทัลเสมือนจริง
ที่ขับเคลื่อนโดยคนจริง มนุษย์เสมือนจริง 2.5D
AI Marketing Direct Selling (AD) (Direct Sales VS Marketing)
การขายโดยใช้หุ่นยนต์กระบวนการขายทุกขั้นตอนจนจบและทำงานเหมือนคนจริง
หุ่นยนต์ AI เพื่อช่วยเหลือในการขายของออนไลน์ โดยหุ่นยนต์ AI เหล่านี้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องหยุดพักได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การขาย คือ กระบวนการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า เนื่องจากมีหน้าที่ในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ
พนักงานขายมีหน้าที่รับผิดชอบในการระบุและคัดเลือกลีดที่มีคุณภาพ พัฒนาความสัมพันธ์และปิดดีลการขายกับลูกค้า
ประโยชน์ของการตลาด

กระบวนการขาย

1. แสวงหาลูกค้า (Prospect for customers)
2.วางแผนวิธีการเข้าหาลูกค้า (Plan the approach)
3.เสนอการขาย และ/หรือ การสาธิต (Make the presentation and/or demonstration)
4.แก้ไขข้อโต้แย้ง (Handle objections)
5.ปิดการขาย (Close the sale)
6.ติดตามผลการขาย (Follow-up)

ตัวอย่าง การคิดต้นทุนการทำงาน จ้างพนักงานขายหาลูกค้า 10 คน ค่าจ้างคนละ 12,000 บาท/เดือน รวมค่าจ้างต่อเดือน 120,000 บาท/เดือน สมุติเข้าพบลูกค้าวันละ 5 ราย 10 คน = 50 ราย/วัน ขายได้ขั้นต่ำ 5-10 ชิ้น/วัน ราคาสินค้าเงินผ่อนชิ้นละ 5,000 บาท = 25,000-50,000 บาท ค่าแรง 4,000 บาท /วัน ค่าน้ำมัน 1,500 บาท /วัน หากเราทำยอดเสม่ำเสมอ จนครบ 30 วัน ขั้นต่ำจะมีรายได้ที่ 750,000 บาท/เดือน หักเงินค่าแรง 120,000 บาท ค่าน้ำมัน 45,000 บาท รวมค่าใช้จ่ายค่าแรง+ค่าน้ำมัน = 165,000 บาท ยอดขายขั้นต่ำ 750,000 บาท - 165,000 บาท = เงินผ่อน 585,000 บาท หัก ค่าเช่า 10,000 บาท+ค่าน้ำ 500 บาท+ค่าไฟ 3,000 บาท+ค่าเน็ต 1,000 บาท+เบ็ดเตล็ด 5,000 บาท รวม 19,500 บาทต่อเดือน 750,000 บาท - 165,000 บาท -19,500 บาท = เงินผ่อน 565,500 บาท/เดือน เงินสดค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย/เดือน = เงินสด 185,500 บาท/เดือน หักต้นทุนสินค้า ชิ้นละ 2,000 บาท = 300,000 บาท/เดือน คงเหลือ ขาย 750,000 บาท - 165,000 บาท -19,500 บาท -300,000 บาท = เงินผ่อน 265,500 บาท/เดือน

สรุป จากตัวอย่างข้างต้น ค่าใช้จ่ายเงินสด 484,500 บาท/เดือน
รายได้ เงินผ่อน 750,000 บาท/เดือน



ปัญหาเกี่ยวกับการขายสินค้าและบริการ



สินค้า สามารถแยกกระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย การซื้อ และการบริโภคออกจากกันได้อย่างชัดเจน
สามารถผลิตได้ครั้งละจำนวนมาก และสามารถแบ่งแยกออกเป็นหน่วยย่อยและขายให้ผู้บริโภคได้พร้อมกันหลายๆ ราย
- บริการ การให้บริการและการรับบริการต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
ไม่สามารถแยกกระบวนการผลิตและการบริโภคบริการออกจากกันได้
ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดในด้านผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลและข้อจำกัดด้านเวลา ซึ่งทำให้สามารถให้บริการได้เพียงครั้งละ 1 ราย
พนักงานผู้ให้บริการ 1 คนจึงไม่สามารถให้บริการแก่ลูกค้าหลายๆ รายในเวลาเดียวกันได้

ปัญหาเกี่ยวกับการขายสินค้าและบริการ คือ การนำเสนอขายสินค้าและบริการเยอะๆหลายรายการ
ซึ่งค่าใช้จ่ายในการนำเสนอสินค้าและบริการ สรรพคุณ ความแตกต่างของสินค้าแต่ละประเภท การรับรู้ ตวามเป็นมา
กระบวนการผลิต ทำให้เกิดการสับสนระหว่างลูกค้าและผู้ใช้งาน จึงใช้เวลานานในการนำเสนอ
ทำให้ใช้งบประมาณจำนวนมากในการแข่งขัน



เลือกการเข้าถึงผู้ใช้และเครื่องมืออัตโนมัติ





ทดลองใช้งาน
ดาวเทียมติดต่อสื่อสาร.